วงจรชาร์จแบตเตอร์รี่รถยนต์
ที่ชาร์จอันนี้เป็นที่ชาร์จที่เร็วและทำง่าย ใช้สำหรับชาร์จแบตเตอร์รี่ประเภทตะกั่ว มีหลอด LED ใช้แสดงเมื่อกำลังาร์จแบตเตอร์รี่
และไฟ LED จะดับลงเมื่อแบตเตอร์รี่ชาร์จเต็มแล้ว
ผังวงจรต้นฉบับ
รายชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวงจรR1 500 Ohm 1/4 W Resistor
R2 3K 1/4 W Resistor
R3 1K 1/4 W Resistor
R4 15 Ohm 1/4 W Resistor
R5 230 Ohm 1/4 W Resistor
R6 15K 1/4 W Resistor
R7 0.2 Ohm 10 W Resistor
C1 0.1uF 25V Ceramic Capacitor
C2 1uF 25V Electrolytic Capacitor
C3 1000pF 25V Ceramic Capacitor
D1 1N457 Diode
Q1 2N2905 PNP Transistor
U1 LM350 Regulator
U2 LM301A Op Amp
S1 Normally Open Push Button Switch
MISC
Wire, Board, Heatsink For U1, Case, Binding Posts or Alligator Clips For Output
ภาพขั้นตอนการทำวงจร
ตัดแผ่นทองแดงตามขนาดที่ต้องการ
ตัดแผ่นพลาสติกใสที่ปริ๊นออกมาด้วยหมึก Laser Print
ทดสอบแช่น้ำเพื่อทดสอบว่าหมึกละลายน้ำหรือไม่ ถ้าละลายน้ำก็ใช้ไม่ได้ ที่เห็นในรูป แผ่นใสหมึกไม่ละลายน้ำ สามารถนำมาใช้ในขั้นต่อไปได้
นำแผ่นพลาสติกมาวางบนแผ่นทองแดงโดยกันด้านที่เป็นหมึกลงบนทองแดง
แล้วใช้เตารีดไฟร้อนรีดทับลงบนแผ่นทองแดง
โดนมีกระดาษขาวมารองไว้ก่อนอย่างน้อย 1 ชั้น
เมื่อรีดเสร็จแล้ว นำไปแช่ในน้ำเย็นทันที
แล้วลอกแผ่นพลาสติกออก
ภาพของวงจรที่รีดเสร็จแล้ว
และแก้ไขด้วยปากกาเสร็จแล้ว
ภาพการกัดทองแดงออกด้วยกรด
กัดกรดเสร็จแล้ว
เตรียมการเจาะรูแผ่นปริ๊นด้วยสว่านขนาดเล็ก
ที่พ่วงกับหม้อแปลง 12V
ชุดเตรียมการทดลองทั้งหมด
แผ่นทองแดงที่เสร็จแล้ว, หม้อแปลงไฟฟ้า 220 - 15V, ชุดสะพานไดโอด,
แบตเตอร์รี่ที่ใช้แล้ว, สายไฟปากจรเข้
การต่อสายไฟ Supply อย่างหยาบๆ (สำหรับการทดลอง)
ไฟที่ออกมาจากสะพานไดโอด 24V
ภาพวงจรที่ต่อเสร็จสมบูรณ์
ต่อไฟเข้ากับวงจร
ไฟที่ออกมาจากขั้วชาร์จ
เช็คไฟแบตเตอร์รี่อ่านค่าได้ 10V
ผลการทดลอง
จากการทดลองต่อสายไฟเข้าสู่แบตเตอร์รี่รถมอเตอร์ไซค์ ขนาด 12V พบว่า เมื่อเดินไฟครบวงจร แบตเตอร์รี่จะได้รับการชาร์จประจุจากวงจร ภายในเซลล์ของแบตเตอร์รี่ทั้งหมด 6 เซลล์ มีฟองอากาศเกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอร์รี่ได้รับการชาร์จประจุแล้วแน่นอน และเมื่อทำการวัดค่าไฟอีกครั้ง พบว่า คงามต่างศักย์ของแบตเตอร์รี่เพิ่มขึ้นจาก 10V เป็น 12V โดยใช้เวลาชาร์จทั้งหมด 1 ชั่วโมง (13.30 - 14.30)
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงาน
เนื่องจากตามท้องตลาด ไม่สามารถหาชิ้นส่วนตัวต้านทานขนาด 230K ohm ได้ มีเพียงตัวต้านทานขนาด 240K และ 220K จึงได้ใช้ตัวต้านทานขนาด 220K แทน และไดโอดเบอร์1N457 ไม่สามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด จึงได้เลือกใช้ไดโอดเบอร์ 1S2413 แทน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่อง LED ไม่ติดขณะที่วงจรทำงาน จึงได้ทำการไลวงจรใหม่เพื่อหาข้อผิดพลาด
และได้ทำการแก้ไขโดยใช้ LED ดวงใหม่ และต่อสายไฟเพิ่มเติม จนในที่สุด LED ก็สามารถทำงานได้
การนำไปใช้งาน
สำหรับการใช้งาน วงจรนี้ต้องการแหล่งจ่ายไฟ 18VDC โดยต้องอาศับหม้อแปลงเป็นหลัก นำสายต่อจากขั้ว + และขั้ว - ของวงจรต่อเข้าโดยตรงกับแบตเตอร์รี่ ซึ่งเหมาะแก่การใช้กับแบตเตอร์รี่ตะกั่ว (แบตเตอร์รี่รถยนต์) ขนาด 12 - 24V
ลิ๊งต้นฉบับ : http://www.aaroncake.net/Circuits/charger1.asp
เครดิตผู้จัดทำ
นายทักษ์ดนัย เสลาคุณ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยเท๕โนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชั้นปีที่ ปี 1 รหัส 52210622